พันธะสัญญา

👮🏻พันธะสัญญาการให้บริการประชาชน สภ.น้ำเพียงดิน จว.แม่ฮ่องสอน👮🏻

โดยสถานีตำรวจภูธรน้ำเพียงดิน และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตาม การบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

วิธีการกำหนดพันธะสัญญาของสถานีตำรวจในการให้บริการประชาชนตามกรอบกิจกรรมของ ตร. กรอบกิจกรรมงานด้านต่างๆ ตร.ได้กำหนดกรอบกิจกรรมของสถานีตำรวจที่จะต้องนำไปกำหนดพันธะสัญญาการให้บริการประชาชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการผลักดันนโยบายลงสู่ภาคปฏิบัติโดยมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นให้สถานีตำรวจแต่ละสถานีให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนผู้รับบริการในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ระบบการทำงานและทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ในหน้างานด้านต่างๆของสถานีตำรวจซึ่งจะถือเป็นข้อผูกพันในการปฏิบัติเพื่อให้บริการประชาชน กรอบกิจกรรมในงานด้านต่าง ๆ ของสถานีตำรวจ มีด้วยกัน 4 ด้าน ดังนี้
1.งานธุรการและอำนวยการ
2.งานป้องกันปราบปราม
3.งานจราจร
4.งานสอบสวน

📋พันธะสัญญาของงานธุรการและอำนวยการ📋

ประเภทของงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
พันธะสัญญา
1.การขอตรวจสอบประวัติสมัครงาน หรือ เข้าศึกษาต่อ
1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ และกรอกข้อข้อความในเอกสาร
2. ส่งเรื่องไปตรวจสอบที่กองทะเบียน ประวัติอาชญากร 3. แจ้งผลการตรวจสอบประวัติ
ภายใน 15 วันประชาชนสามารถถือเอกสารไปตรวจสอบพร้อมขอรับผลที่ กองทะเบียนประวัติฯด้วยตนเองได้ หรือส่งทางไปรษณีย์ด่วน มาก็ได้
2. การขออนุญาตเล่นงิ้ว
1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อตรวจสอบ หลักฐานเกี่ยวกับการแสดงงิ้ว
2.ส่งบทการแสดงไปตรวจสอบที่สันติบาล
3.รับผลการตรวจบทแปลจากสันติบาล
4.แจ้งผลการพิจารณา
ภายใน 7 วัน
3.การขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว
1.พบเจ้าหน้าที่ที่ยื่นคำร้อง
2.ชำระเงินค่าธรรมเนียม
3.ลงรายการต่ออายุในใบสำคัญ
4.ออกใบเสร็จรับเงิน
5.นายทะเบียนลงนาม
ภายใน 30 นาที
4.แจ้งย้ายภูมิลำเนาคนต่างด้าว (ทั้งกรณีย้ายออกและย้ายเข้า)
1.นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และสำเนาทะเบียนบ้านมาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.เขียนคำร้อง
3.เจ้าหน้าที่ธุรการลงรายการในใบสำคัญฯ
4.นายทะเบียนลงนาม
5.(กรณีย้าย)ทำบันทึกขอรับเอกสารต้นเรื่องของคนต่างด้าวจากสถานีตำรวจเดิม
ภายใน 30 นาที
5.ขอปิดรูปถ่ายคนต่างด้าวเมื่อครบ ระยะ 5 ปี
1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการ พร้อมภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 4 รูป
2.เขียนคำร้อง
3.เจ้าหน้าที่ประทับตรา
4.นายทะเบียนลงนาม
ภายใน 30 นาที
6.การแจ้งการตายของคนต่างด้าว
1.นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบมรณบัตรพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2.หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องในใบสำคัญประจำคนต่างด้าว
3.นายทะเบียนลงนาม
4.ส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ภายใน 1 ชั่วโมง
หน่วยรับผิดชอบของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คือ งาน 4 กก.1 ตม.สตม.
7.ขอแปลงสัญชาติของคนต่างด้าว
1. เมื่อคนต่างด้าวได้รับราชกิจจาฯ ให้แปลงเป็น สัญชาติไทยได้แล้ว มาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ
2. หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องในใบสำคัญประจำตัว คนต่างด้าว
3. นายทะเบียนลงนาม
4. ส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ภายใน 1 ชั่วโมง
หน่วยรับผิดชอบของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คือ งาน 4 กก.1 ตม.สตม.
8.การรับใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่ชำรุดหรือสูญหาย
1. นำหลักฐานใบแจ้งความสูญหาย หรือชำรุดพร้อม ถ่ายภาพ และ สำเนาทะเบียนบ้าน พบเจ้าหน้าที่ธุรการ เพื่อยื่นคำร้องและชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
2. เจ้าหน้าที่ธุรการออกใบเสร็จ สอบปากคำตรวจสอบ เอกสาร และออกเล่มใบสำคัญ
3. นายทะเบียนลงนาม
ภายใน 1 ชั่วโมง
9.ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวใหม่(ภายใน 7 วัน)
1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญถิ่นที่อยู่และหนังสือแจ้งนายทะเบียนท้องที่ จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แล้วยื่นคำร้องชำระค่าธรรมเนียม
2.ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3.ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4.เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่ให้
5.นายทะเบียนลงนาม
6.ส่งปลายขั้วไปสำนักตรวจคนเข้าเมือง
ภายใน 1 ชั่วโมงหน่วยรับผิดชอบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คือ งาน 4 กก.1 ตม.สตม.
10.ขอรับใบสำคัญประจำคนต่างด้าวใหม่ (เกินกำหนด 7 วัน )
1.พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญฯ
2.ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3.ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4.เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่ให้
5.นายทะเบียนลงนาม
6.ส่งปลายขั้วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ภายใน 1 วัน
1. หน่วยรับผิดชอบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คือ งาน 4 กก.1 ตม.สตม.
2. ถ้าคนต่างด้าวเป็นผู้เยาว์(อายุไม่เกิน 12 ปี) ต้องเพิ่ม ขั้นตอนการพิมพ์ลายนิ้วมือ และสอบปากคำผู้ปกครอง พร้อมตรวจสอบหลักฐานยืนยันความถูกต้องจากสำนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองก่อน

🚓พันธะสัญญาของงานป้องกันปราบปราม🚓

ประเภทของงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
พันธะสัญญา
1. การบริหารงานสายตรวจ
องค์ประกอบในการบริหารงานสายตรวจ ควรประกอบด้วย
- ห้องปฏิบัติการสายตรวจ
- ข้อมูลในการวางแผนป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
- เครื่องมือสื่อสาร
- แผนเผชิญเหตุ
- แผนที่สถานภาพอาชญากรรม
- ตำรวจสายตรวจที่ผ่านการอบรมมาอย่างดี
- ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข้อมูลข่าวสาร
- ผู้บังคับบัญชาอำนวยการในพื้นที่
สถานีจะมีองค์ประกอบในการบริหารงาน ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมอย่าง ครบถ้วน
2. ความพร้อมในการป้องกันปราบปราม
- การแบ่งเขตการตรวจ
- การจัดประเภทสายตรวจ
- การประกอบกำลังออกปฏิบัติงาน
สถานีมีความพร้อมในการป้องกัน ปราบปราม และให้บริการประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยแบ่งพื้นที่การตรวจ เป็น 1 เขต แต่ละเขตมีตำรวจสายตรวจ จำนวน 3 นาย และอาสาสมัครสมาชิกแจ้งข่าว อาชญากรรมปฏิบัติร่วมด้วย
3. การระงับเหตุ/ให้บริการ
เมื่อมีการแจ้งเหตุร้าย หรือขอรับบริการ ตำรวจสายตรวจ ในพื้นที่ต้องรีบเดินทางไประงับเหตุและให้บริการ
เจ้าหน้าที่ตำรวจไประงับเหตุ หรือให้ บริการตามที่ได้รับแจ้งภายในเวลา 5 นาที
4. การควบคุมผู้ต้องหา
- การควบคุมผู้ต้องหา ผู้ต้องกักขังบนสถานีตำรวจ (ในห้องควบคุม)
- ผู้ต้องหา/ผู้ต้องกักขัง จะได้รับการ ควบคุมอย่างปลอดภัยในห้องควบคุม ที่สะอาด (เหมาะสม)
5. การรับโทรศัพท์แจ้งเหตุ ของสถานีตำรวจ
- ผู้แจ้ง โทรศัพท์แจ้งเหตุมายังสถานีตำรวจ
- เจ้าหน้าที่โทรศัพท์รับข้อมูล
- การรับโทรศัพท์มาแจ้งเหตุที่สถานี ตำรวจจะจัดโทรศัพท์รับแจ้งเหตุไว้ โดยเฉพาะ จำนวน 2 หมายเลข โดยใช้ ระบบคนตอบรับ

👮🏻‍♀️พันธะสัญญาของงานจราจร👮🏻‍♀️

ประเภทของงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
พันธะสัญญา
1. การจัดกำลังตำรวจควบคุมและจัดการ จราจรประจำทางแยก หรือจุดที่มีปัญหา การจราจร เช่น ทางแยกสำคัญ หน้าศูนย์ การค้า สถานศึกษา หรือย่านชุมชน
- มีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรประจำ ทางแยกสำคัญและจุดสำคัญ เช่น หน้าตลาดสด สถานศึกษา ย่านชุมชน
- ช่วงเวลาที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรประจำจุด
- การจัดกำลังประจำทางแยก 1 จุด กำลังจุดละ 1 นาย
- การจัดกำลังประจำจุดสำคัญ 1 จุด กำลังจุดละ 1 นาย
- ช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ ตั้งแต่ 06.30 - 17.00 น
2. จัดกำลังตำรวจไว้อำนวยความสะดวก การจราจร
- จัดสายตรวจจราจรไว้อำนวยความสะดวก การจราจร
- กรณีได้รับแจ้งอุบัติเหตุ/รถเสีย/ ขอความ ช่วยเหลือ หรือ
- การแก้ปัญหาการจราจรกรณีเร่งด่วนเฉพาะหน้า ซึ่งประชนร้องขอให้ดำเนินการ และต้องปฏิบัติ ทันที
- การจัดสายตรวจจราจรไว้อำนวยความสะดวก การจราจร
- ช่วงเวลาที่จัดสายตรวจ (ตลอด 24ชั่วโมง หรือช่วงเวลาใด) - สายตรวจจราจร เดินทางถึงที่เกิดเหตุ ภายใน 5 นาที - จัดกำลังสายตรวจ 1 สาย จำนวน 3 นาย
3. การอำนวยความสะดวก ด้านการเปรียบเทียบปรับคดีจราจร
- เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจับกุมออกใบสั่ง
- ช่วงเวลาที่มีการจัดเจ้าหน้าที่ไว้ทำการ เปรียบเทียบปรับคดีประจำสถานี
- นำใบสั่งไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อกำหนด อัตราเปรียบเทียบ ชำระค่าปรับ
ภายใน เวลา 1 ชั่วโมง สามารถชำระค่าปรับได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้น วัน หยุดราชการ ภายใน 1 วันทำการ (กรณีสถานีตำรวจ ดำเนินการเองได้) ภายใน 1 วันทำการ (กรณีต้องขอกำลัง หรือประสานกับหน่วยอื่น)
4. การขออำนวยความสะดวก ด้านการจราจรทั่วไป
- พบเจ้าหน้าที่ติดต่อหรือยื่นหนังสือ
- พิจารณาดำเนินการแจ้งผลให้ทราบ
- พิจารณาเสนอหน่วยงานเหนือสั่งการแล้วแจ้ง ผลให้ทราบ
ภายใน 1 วันทำการ (กรณีสถานีตำรวจ ดำเนินการเองได้) ภายใน 15 วันทำการ (กรณีต้องขอกำลังหรือประสาน กับหน่วยอื่น)
5. การอำนวยความสะดวก กรณีต้องขอ ใช้พื้นผิวจราจร
- พบเจ้าหน้าที่เพื่อติดต่อหรือยื่นหนังสือ
- พิจารณาดำเนินการแล้วแจ้งผลให้ทราบ
- พิจารณาเสนอหน่วยเหนือสั่งการแล้วแจ้งผล ให้ทราบ
ภายใน 1 วันทำการ (กรณีไม่กระทบหน่วยอื่น) ภายใน 15 วันทำการ (กรณีต้องประสานกับหน่วยอื่น)
6. การขออำนวยความสะดวกด้าน การจราจร กรณีต้องออกคำสั่งหรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการจราจร
- พบเจ้าหน้าที่ติดต่อหรือยื่นหนังสือ
- หัวหน้าสถานีพิจารณามีความเห็นเสนอ
- ส่งเรื่องไปยังกองบังคับการและกองบัญชาการ เพื่อพิจารณา
ภายใน 30 วันทำการ

👮‍♀️พันธะสัญญาของงานสอบสวน👮‍♀️

ประเภทของงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
พันธะสัญญา
1. การแจ้งเอกสารหาย
1. พบเจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันเพื่อเขียนบันทึก ประจำวันเอกสารหาย
2. พนักงานสอบสวนลงนามในบันทึกประจำวันในข้อที่ รับแจ้ง
3. เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันมอบสำเนาบันทึกประจำวัน ให้ผู้แจ้ง
* ประชาชนมีทางเลือกที่สามารถใช้บริการได้ที่ สถานีตำรวจใกล้เคียงที่สะดวก ตู้ยามตำรวจที่ทำการ ตำรวจชุมชน
ภายใน 30 นาที
2. การเปรียบเทียบปรับตามใบสั่ง
1. นำใบสั่งไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อกำหนดอัตรา เปรียบเทียบปรับ
2. ชำระค่าปรับที่เสมียนเปรียบเทียบปรับ รับใบเสร็จ และใบอนุญาตขับขี่ (กรณีไม่ต้องบันทึกคะแนน)
* ประชาชนมีทางเลือกที่จะสามารถใช้บริการชำระ ค่าปรับทางไปรษณีย์ ทางตู้บุญเติม ทางธนาคารกรุงไทย ทางระบบเสียค่าปรับ Online
ภายใน 15 วัน
3. การสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี
1. ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาบันทึกประจำวันต่อพนักงาน สอบสวน
2. เมื่อหัวหน้าสถานีพิจารณาแล้วมีความเห็นอนุญาต
3. เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันสำเนาบันทึกประจำวัน ให้นายตำรวจสัญญาบัตรรับรอง สำเนาถูกต้องมอบให้ กับผู้แจ้ง
ภายใน 30 นาที
4. การขอถอนคำร้องทุกข์
1. พนักงานสอบสวนเวรเจ้าของคดี หรือร้อยเวรตรวจสอบ เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. พนักงานสอบสวนตรวจสอบคดีและอธิบายขั้นตอน การดำเนินคดี
3. บันทึกปากคำและลงลายมือชื่อในสมุดบัญชียึดและ รักษาทรัพย์(กรณียึดของกลาง) ลงบันทึกประจำวัน บันทึกการถอนคำร้องทุกข์ คดีความผิดอันยอมความได้
ภายใน 1 ชั่วโมง
5. การแจ้งความเป็นหลักฐาน กรณีไม่เกี่ยวกับคดี
1. พนักงานสอบสวนซักถามรายละเอียด ข้อเท็จจริง และตรวจสอบหลักฐาน เอกสารที่เกี่ยวข้อง อธิบาย ข้อกฎหมาย
2. ลงบันทึกประจำวัน
ภายใน 1 ชั่วโมง
6. การขอประกันตัวผู้ต้องหา
1. ผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องนำหลักประกัน ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานตำรวจ
2. พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
3. บันทึกสัญญาประกัน และมีความเห็นควรหรือไม่ควร อนุญาตให้ประกัน
4. ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกัน
5. กรณีที่อนุญาตให้ออกหลักฐานรับหลักประกันและ สัญญาประกันคู่ฉบับมอบให้นายประกัน
6. เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันทำการบันทึกประจำวัน เพื่อปล่อยตัว หรือไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหา
ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาที่ยื่นคำร้องต่อ พนักงานสอบสวน หรือ เจ้าพนักงานตำรวจ กรณีเหตุจำเป็น ไม่อาจ สั่งปล่อยชั่วคราวได้ ให้พิจารณาให้เสร็จสิ้น ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่ เวลาที่ยื่นคำร้องขอปล่อย ชั่วคราว
7. การคืนหลักทรัพย์ที่นำมาประกันผู้ต้องหา
1. นำหลักฐานรับหลักประกันตัวผู้ต้องหา พบพนักงาน สอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ธุรการทางคดี
2. พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าธุรการทางคดีตรวจสอบ และบันทึกผลคดีถึงที่สุด หรือบันทึกเหตุที่ถอนคดีได้
3. พนักงานสอบสวนมีความเห็นให้ถอนสัญญาประกัน
4. เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันลงบันทึกประจำวัน และมอบหลักทรัพย์คืนให้นายประกัน
ภายใน 24 ชั่วโมง ในวันเวลาราชการ นับแต่เวลาที่ยื่นหลักฐาน ประกันตัว ผู้ต้องหาต่อ พนักงานสอบสวน ภายใน 1 วันทำการ นับแต่วันยื่นหลักฐาน ประกันตัวผู้ต้องหา ต่อพนักงานสอบสวน ภายใน 1 วัน
8. การตรวจสอบสภาพรถในคดีจราจร
1. พนักงานสอบสวนทำบันทึกส่งรถไปตรวจสภาพ
2. นำรถไปตรวจสภาพที่กองบังคับการจราจร
* หรือผู้ชำนาญการอื่น แต่ต้องสอบสวนให้ปรากฏ ความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นไว้ด้วย
ภายใน 3 วัน
9. การคืนของกลางกรณีศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดไม่ริบ หรือพนักงานอัยการ แจ้งให้คืน
1. นำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบพนักงานสอบสวน
2. พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐานและพิจารณา มีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลาง
3. ลงบันทึกประจำวันคืนของกลางและลงลายมือชื่อ รับในสมุดบัญชียึด และรักษาทรัพย์
ภายใน 2 ชั่วโมง
10. การแจ้งความคืบหน้าของคดี
พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้เสียหาย
ภายใน 1 เดือน จนกว่า การสอบสวนจะเสร็จสิ้น
11. การแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องหา ไว้วางใจทราบการจับกุมเมื่อผู้ถูกจับร้องขอ
เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมผู้ต้องหาเป็นผู้แจ้ง หรือ ประสานงานตำรวจท้องที่ ที่ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ต้องหา ไว้วางใจมีภูมิลำเนาอยู่เป็นผู้แจ้ง
ภายใน 24 ชั่วโมง

🕵พันธะสัญญาของงานสืบสวน🕵

ประเภทของงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
พันธะสัญญา
1.การขอรับรองประวัติบุคคล (สืบสวนพฤติการณ์บุคคล)
1.พบเจ้าหน้าที่/ยื่นเอกสาร
2.เจ้าหน้าที่สารบรรณลงควบคุม เอกสารในระบบ/เสนอหัวหน้าสถานี
3.สอบปากคำ พยาน /เสนอหัวหน้าสถานีลงนาม
4. แจ้งผลให้ผู้ร้อง
ภายใน 1 วันทำการ
ขั้นตอน
ความคาดหวัง
มาตรฐานการให้บริการ
ประชาสัมพันธฺ์
ความประทับใจ
1.รับรู้การมาของผู้บริการโดยเร็วที่สุด
2.แนะนำขั้นตอน /ผู้รับผิดชอบ
ตรวจสอบหลักฐาน
ขั้นตอนชัดเจน
1.ทักทาย/สอบถามความประสงค์
2.โปร่งใส ใส่ใจในการบริการ
3.กระตือรือล้น ห่วงใย
4.ใช้วาจาสุภาพ
การสอบสวน
อธิบายข้อกฏหมาย
1.วางตัวเป็นกลาง
2.ใส่ใจรับฟัง/ไม่คุยเรื่องส่วนตัว/ผู้อื่น
3.กระชับ รัดกุม
4.ไม่กล่าวโทษตำหนิผู้มารับบริการ
5.เมื่อต้องให้รอควรกล่าวขอโทษพร้อมเหตุผล จุดมุ่งหมาย ระยะเวลาที่ให้รอ